วิสัยทัศน์ มูลนิธิอันดามัน

วัสัยทัศน์ มูลนิธิอันดามัน


“เป็นองค์กรที่เสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมบนฐานระบบนิเวศ ปกป้องแหล่งผลิตอาหาร รักษาสมดุลการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
และเพิ่มความสามารถในการจัดการผลผลิตที่ปลอดภัย เพื่อร่วมสร้างสังคมแห่งความสุขอย่างยั่งยืนบนฐานการ
พัฒนาที่เคารพสิทธิชุมชนแบบมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม”

พันธกิจ มูลนิธิอันดามัน

1.ส่งเสริม และพัฒนากลไกการรวมตัวของชุมชนท้องถิ่นทั้งในเชิงพื้นที่ และเชิงประเด็น เพื่อ ขับเคลื่อนสังคมผ่านโครงการ หรือกิจกรรมอย่างเป็นรูปธรรม 2.สร้างความตระหนักด้านสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร การปกป้องแหล่งผลิตอาหารและการ รักษาสมดุลสภาพภูมิอากาศที่ดี ที่อาจจะถูกคุกคามจากกิจกรรม กิจการ หรือโครงการพัฒนาที่ไม่เหมาะสม 3.ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมเป็นธรรมด้วยความเคารพความแตกต่าง ของเพศสภาพ เพื่อน าไปสู่การก าหนดทิศทางการพัฒนาชุมชนบนฐานระบบนิเวศของพื้นที่ 4.พัฒนาองค์ความรู้ และสร้างสรรค์นวัตกรรมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม 5.ร่วมมือกับภาคี/เครือข่ายพัฒนาที่หลากหลายทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น และภาคประชาสังคมเพื่อสร้าง สังคมแห่งความสุขบนฐานแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

วัตถุประสงค์ มูลนิธิอันดามัน

1. เพื่อส่งเสริมการศึกษา การพัฒนาองค์ความรู้ในการอนุรักษ์ฟื้นฟู การใช้ประโยชน์ทรัพยากร ใน
พื้นที่ชายฝั่ง ลุ่มน้ าและทะเลอย่างยั่งยืน
2. เพื่อด าเนินการให้มีการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรในพื้นที่ชายฝั่ง ลุ่มน้ าและทะเล
อย่างยั่งยืน
3. สนับสนุนการพัฒนาชุมชนด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ศาสนาและการพัฒนาองค์กรชุมชน
ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มองค์กรชุมชน
4. เสริมสร้างความเข้าใจอันดีและก่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาอย่างยั่งยืนระหว่างภาค
ประชาชน ภาควิชาการภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ รวมถึงความร่วมมือเพื่อการการพัฒนาทียั่งยืน
ระหว่างประเทศ

5. เพื่อส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความ
เป็นกลาง มิให้การสนับสนุนด้านการเงินหรือทรัพย์สินแก่นักการเมืองหรือพรรคการเมืองใด

ปรัชญาและจุดมุ่งหมายของเครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการฟื้นฟูชุมชนชายฝั่ง

ปรัชญาและจุดมุ่งหมายของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน
1. การมีส่วนร่วมของชุมชนในกาเป็นเจ้าของ คิด และปฏิบัติการกิจกรรมฟื้นฟู มีความเข้มแข็ง
สามารถจัดการและพึ่งพาตนเอง ตลอดจนประสานภาคีอื่นๆ ได้ด้วยดี
2. การฟื้นฟูชุมชนในการบรรเทาทุกข์และประสานความช่วยเหลือต่างๆ ในการ ฟื้นฟูชีวิต อาชีพ
ชุมชน คุณภาพชีวิต ตลอดจนสภาพแวดล้อมทั้งในระยะเริ่มต้น ระยะกลาง และระยะยาว
3. การพัฒนาในระยะยาวอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในการจัดการตนเองของชุมชนใน มิติต่างๆ เช่น
การปกครองตนเอง กองทุน พัฒนาชุมชน ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ชุมชน เป็นต้น
4. การเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสแก้ปัญหาต่างๆ ที่มีมาก่อน เช่น ปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดิน น้ าสะอาด การ
ถนอมใช้ทรัพยากรธรรมชาติทั้งทะเลและชายฝั่ง เป็นต้น


การประสานความร่วมมือกับส่วนราชการในการแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม โดยชุมชนเป็นฐาน


1. สนับสนุนและพัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมแก่ชุมชน
2. สนับสนุนการจัดท าเขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
3. สนับสนุนการตรวจตราเฝ้าระวังทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่อนุรักษ์ทางทะเล
4. สนับสนุนกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง


พันธมิตร