มูลนิธิอันดามัน

SAN

มูลนิธิอันดามัน (Save Andaman Network- SAN) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร
จดทะเบียนเป็นมูลนิธิด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เราเป็นองค์กรที่สนุบสนุนนด้านการใช้ทรัพยากรชายฝั่งอย่างยังยืน, เสริมสร้างศักยภาพ และความตระหนักรู้ด้านการอนุรักษ์ให้กับชุมชนท้องถิ่นและผลักดันโอกาสด้านการสร้างอาชีพทางเลือกอื่นๆ ให้กับชุมชนประมงพื้นบ้านชายฝั่ง

คลื่นสร้างสรรค์ที่ก่อตัว

กว่าจะมาเป็นอันดามัน

“มูลนิธิอันดามัน” ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทตั้งแต่สมัย สึนามิ   (พ.ศ.2547)  โดยตอนนั้นเราอยู่ในเครือข่ายฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน และทำงานเพื่อฟื้นฟูทรัพยากร และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนที่ประสบภัยในระยะยาว ตลอดจนสภาพแวดล้อมในบริเวณ ใน 121 หมู่บ้าน 6 จังหวัด ริมชายฝั่งบริเวณอ่าวอันดามัน…>>

คลื่นสร้างสรรค์ที่ก่อตัวของมูลนิธิอันดามัน SAN

SAN_LOGO_FINAL-2048x1472 PNG
ปฏิญญาลันตา
ประชาชนในพื้นที่เกาะลันตา หลากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมกันทำปฏิญญา 9 ข้อ เพื่อพัฒนาเกาะลันตาสู่ Green & Blue Island
Click Here
MOU ปากเมง - หาดยาว - เกาะกระดาน
"สู่ชายหาดสีเขียว การท่องเที่ยวยั่งยืน"
Click Here
สมาคมชาวประมงพื้นบ้าน
การรวมตัวของชาวบ้านชายฝั่งทะเลอันดามัน ผู้ที่มีถิ่นฐานและประกอบอาชีพชาวประมงอย่างดั้งเดิม รวมตัวกันเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟู รวมถึงรักษาทรัพยากรชายฝั่ง ด้วยการทำประมงที่ถูกวิธี
Click Here
Previous slide
Next slide

ความร่วมมือจาก หลากหลายภาคส่วน

มูลนิธิอันดามันไม่เพียงแต่ปฏิบัติงานภายใต้ขอบเขตการทำงานในเฉพาะส่วนเท่านั้น เราได้มีการประสานงานความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วนเข้าด้วยกันเพื่อแก้ปัญหาในทุกมิติ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในพื้นที่ ชาวประมง ชาวบ้าน ไปจนถึง กลุ่มซาเล้งในชุมชนนั้นๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีบทบาทในการแก้ปัญหา และมีการตกลงร่วมมือกันอย่างจริงจัง และเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ

"ทุกๆคนคือคนสำคัญในการทำให้ธรรมชาติคงอยู่ และทุกคนจะได้รับผลประโยชน์นั้นร่วมกันในที่สุด เพราะธรรมชาติคือบ้านของทุกคน"

การปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนและหลากหลายภาคส่วนในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดความร่วมมือกัน เพื่อที่ทุกๆพื้นที่ในชุมชน จะสามารถปกป้องผืนป่าและทะเล รวมถึงเห็นความสำคัญของทรัพยากร  ไปจนกระทั้งการปฏิบัติที่ดี และ มีจิตสำนึก ต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

โครงการที่ดำเนินการ

ส่วนหนึ่งของโครงการทำงานภายใต้มูลนิธิอันดามัน ผ่านเรื่องราวต่างๆ ที่ทำให้เรา...สู้ต่อ

"ท้องทะเลและมหาสมุทรถือเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตของมนุษย์ซึ่งมีขนาดใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 70 ของโลกเป็นแหล่งผลิตออกซิเจนที่สำคัญ รวมทั้งเป็นแหล่งอาหาร แหล่งพลังงานทางธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยว ให้ผู้คนในประเทศที่มีอาณาเขตติดพื้นที่ชายฝั่งได้ใช้ประโยชน์จากผืนน้ำท่ามกลางประโยชน์มหาศาลของท้องทะเลและมหาสมุทร ย่อมตามมาด้วยปัญหาและความท้าทายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากข้อมูลของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) พบว่า กว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลกที่ใช้ชีวิตพึ่งพาทะเลและความหลากหลาย ดังนั้น เราจึงได้มีโครงการต่างๆภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิอันดามันเบื้องต้น ดังนี้ ...

"รูปแบบการทำงานของมูลนิธิอันดามัน มีโครงสร้างและระบบปฏิบัติงานที่ชัดเจนในการพัฒนาเสริมสร้างระบบนิเวศน์ทางทะเล ชุมชน และโลกใบนี้ให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น"

ปัญหาขยะทะเล

ปริมาณไมโครพลาสติก จากการแตกตัวของขยะพลาสติก บริเวณก้นทะเลมีปริมาณเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

ลดปริมาณพลาสติกใช้แล้วทิ้ง

โครงการลดพลาสติกในทะเล และ พื้นที่ชายฝั่ง
เพื่อลดจำนวนนาโนพลาสติกและสารปนเปื้อนทางทะเล
อ่านต่อ

ป่าชายเลน

เจตคติในการดูแลรักษาป่าชายเลน และป่าชุมชน เพื่อป้องกันการบุกรุกทำลายป่า รักษาฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ

สมดุลและยั่งยืน

เพื่อความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต และการรักษาแหล่งทรัพยากรทางระบบนิเวศที่สมบูรณ์ของพื้นที่ชายฝั่ง
อ่านต่อ

โครงการหญ้าทะเล

ทรัพยากรหญ้าทะเลเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย หากิน วางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตในทะเล รวมทั้งเป็นอาหารของเต่าตนุและพะยูน ช่วยรักษาระบบนิเวศน์
ตลอดจนช่วยลดการกัดเซาะชายฝั่ง

ขับเคลื่อนงานอนุรักษ์และขยายพื้นที่หญ้าทะเล

ศึกษาวิจัยปลูกหญ้าทะเล เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร และขยายความร่วมมือในการอนุรักษ์และปลูกหญ้าทะเลกับทุกภาคส่วน...
อ่านต่อ

โครงการอนุรักษ์พะยูน

พะยูน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่อาศัยอยู่ในทะเล ซึ่งพบมากในทะเลอันดามันของประเทศไทย ปัจจุบันในทะเลอันดามัน มีครอบครัวพะยูน ราวๆ 150 ตัว ในบริเวณเกาะมุกและเกาะตะลิบง จังหวัดตรัง

การกำหนดพื้นที่อนุรักษ์

พะยูนในประเทศไทยยังจัดอยู่ในภาวะวิกฤต แหล่งหญ้าทะเลอันเป็นแหล่งอาหารของพะยูนที่มีอยู่ในจำนวนน้อย และการติดเครื่องมือและโดนใบพัดเรือประมง ทำให้เราจำเป็นประสานงานเพื่อกำหนดเขตแนวชะลอความเร็วเรือ และข้อตกลงต่างๆ...
อ่านต่อ

เศรษฐกิจชุมชน

การมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรของชาวบ้าน และชาวประมง ร่วมกับผู้ประกอบการบริเวณชายฝั่ง จะทำให้เรามีทรัพยากรที่สมบูรณ์ และสวยงาม ตราบนานเท่านาน

วิสาหกิจชุมชน และการท่องเที่ยว

พัฒนาศักยภาพของประชาชนในพื้นที่ชายฝั่ง เพื่อเสริมสร้างความรู้ และ ความรักในทรัพยากร ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน สู่ Smart SME และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน...
อ่านต่อ

ขยะชุมชน

ทะเลจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับคนบนบก
ชาวบ้านและผู้ประกอบการ บริเวณชายฝั่งอันดามันตามเขตชุมชนต่างๆ ได้ร่วมมือและร่วมใจกันในการคัดแยกขยะเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

การจัดการและคัดแยกขยะ

การจัดการและคัดแยกขยะบนบก เป็นสัญญาณเบื้องต้นที่จะช่วยลดปริมาณขยะลงสู่ทะเล และช่วยให้เรามีทรัพยากรที่สมบูรณ์ได้อย่างยาวนาน
อ่านต่อ

เริ่มที่เรือและเริ่มที่เรือน

เพื่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการ คิด ปฏิบัติ และ แก้ปัญหา พัฒนาคุณภาพชีวิต ดูแลรักษาทรัพยากรในพื้นที่ และมีความเข้มแข็งในการพึ่งพาตนเอง ในระยะยาว

“มูลนิธิอันดามัน”

พลังงานสะอาด

เปลี่ยนจากการใช้พลังงานฟอสซิลที่ปล่อยมลพิษ สู่การใช้พลังงานสะอาดจากธรรมขาติอย่างยั่งยืน

ไฟฟ้าใกล้ตัว

พึ่งพาตนเองจาก พลังงานแดด และ พลังงานลม เพื่อความยั่งยืนของโลกใบนี้ แถมยังช่วยลดค่าไฟฟ้า หรือ ไม่จำเป็นต้องจ่ายเลย....
อ่านต่อ

#ค่าไฟต้องแฟร์

ทวงคืนค่าไฟที่เป็นธรรม ด้วยการร่วมลงชื่อจดหมายเปิดผนึก 5 ข้อ ต่อรัฐบาล เพื่อทวงคืนค่าไฟฟ้าที่เป็นธรรมให้กลับสู่ประเทศไทย

เครือข่ายขับเคลื่อนค่าไฟฟ้าที่เป็นธรรมและยั่งยืน

กลไกค่าไฟฟ้า ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา มีความไม่เป็นธรรมหลายประการต่อผู้ใช้ไฟฟ้า ...
อ่านต่อ

ภาวะโลกร้อน

อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือนกระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า Green house effect

ภาวะโลกร้อน กับ พลังงาน

ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น สัตว์ทางทะเลเสียชีวิตเพราะระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง อาหารลดลง อากาศแปรปรวน เกิดพายุต่าง ๆ มากมายเข้าไปทำลายบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของประชาชน
อ่านต่อ

โครงการ ตามเขตพื้นที่

กระบี่
สถานการณ์และการดำเนินงานในพื้นที่
Coming soon
ตรัง
สถานการณ์และการดำเนินงานในพื้นที่
Coming soon
สตูล
สถานการณ์และการดำเนินงานในพื้นที่
Comming soon
Previous slide
Next slide

ภาวะโลกร้อน กับ พลังงาน จะเห็นว่าการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้า จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจก (Global Warming Potential หรือ GWP) เพียงแค่ 1 เท่า เมื่อเทียบกับการผลิตไฟฟ้าโดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งจะมีมีเทนเป็นองค์ประกอบหลัก เมื่อเกิดการรั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อมจะมีศักยภาพที่จะก่อให้เกิดภาวะเรือนกระจกมากขึ้นถึง 21 เท่า นี่คือปัจจัยหลักที่พ่วงกันทั้งหมดที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ

อ่านเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงพลังงาน

และการขับเคลื่อนสู่โลกใบใหม่ที่สดใส สะอาด และข้อมูลเกี่ยวกับ Climate Change
SAN_LOGO_FINAL-2048x1472 PNG

สิ่งที่เป็นอยู่ตอนนี้ ทุกพื้นที่กำลังขยับเดินเรื่องวิถีชีวิต การเป็นอยู่ รายได้ ทรัพยากร เศรษฐกิจชุมชน

แต่ทำอย่างไรเราจะได้มีส่วนร่วม และเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติและท้องทะเล ด้วยการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรในพื้นที่ที่มีอยู่อย่างถูกวิธี พร้อมปกป้องและดูแลรักษา ให้เป็นฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงในอนาคต ให้เป็นแหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ของจังหวัด ของประเทศ ของโลกใบนี้

"แถบรอบเกาะเรานี้ ยังมีทรัพยากรทางทะเลชุกชุมมาก เรือจากที่ไหนๆก็นิยมมาหากินกันแถบนี้ พวกเราไม่ต้องออกเรือไกล ไปสิบนาทีก็ได้ทำกินแล้ว ต้องช่วยกันรักษาและฟื้นฟู คู่ไปกับการปกป้องอย่าให้ใครมาทำร้าย ทำลายเกินพอดี"

ข่าวสาร S A N

กิจกรรมและความเคลื่อนไหวของมูลนิธิอันดามัน

การพัฒนา เศรษฐกิจชุมชน

พันธกิจหนึ่งของ SAN คือ การช่วยพัฒนาชุมชนให้ชาวบ้านพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

โครงการวิสาหกิจชุมชน 1
ผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์ลายใบไม้ Eco-Print กับสุดยอดลวดลายและสีสันจากธรรมชาติ
Click Here
โครงการวิสาหกิจชุมชน 2
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here
โครงการวิสาหกิจชุมชน 3
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here
โครงการวิสาหกิจชุมชน 4
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here
โครงการวิสาหกิจชุมชน 5
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipiscing elit dolor
Click Here
Previous slide
Next slide
beautiful sunrise with boat on the sea summer at Phuket province, Thailand. subject is blurred noise and low key.

ติดตาม
กิจกรรม
ของเรา

พันธมิตร