ประวัติมูลนิธิอันดามัน

SAN

มูลนิธิอันดามัน (Save Andaman Network- SAN) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร
จดทะเบียนเป็นมูลนิธิด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เราเป็นองค์กรที่สนุบสนุนนด้านการใช้ทรัพยากรชายฝั่งอย่างยังยืน, เสริมสร้างศักยภาพ และความตระหนักรู้ด้านการอนุรักษ์ให้กับชุมชนท้องถิ่นและผลักดันโอกาสด้านการสร้างอาชีพทางเลือกอื่นๆ ให้กับชุมชนประมงพื้นบ้านชายฝั่ง

คลื่นสร้างสรรค์ที่ก่อตัว

มูลนิธิอันดามัน ได้เริ่มมีการรวมตัวขึ้นตั้งแต่มีการเกิดสึนามิ พ.ศ.2547 

โดยตอนนั้นเราอยู่ในเครือข่ายฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน 

ทำงานเป็นเครือข่ายฟื้นฟูชุมชนและทรัพยากรธรรมชาติ 

หลังจากนั้นจึงได้ทะเบียนเป็นมูลนิธิเมื่อ วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2552 

จดทะเบียนเป็นองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2553 

ประเภทองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร

มูลนิธิอันดามันเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 ต่อเนื่องกันมา ได้มีโครงการจัดการทรัพยากรทางทะเล เมื่อ
มีเหตุการณ์สึนามิเกิดขึ้นได้มีเครือข่าย ชื่อว่า เครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน จัดตั้งขึ้นเมื่อ
วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2547 ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๗ เกิดคลื่นสึนามิ วันรุ่งขึ้นจึงได้มีการประชุม
และจัดตั้งองค์กรขึ้นมา มีหน่วยงานมาจากหลากหลายที่ที่เข้ารวมการประชุมที่สำนักงานอยู่ภายในตัวเมือง
จังหวัดตรัง เมื่อมีการจัดตั้งเครือข่าย มีตัวแทนขององค์กรต่างๆ เข้ามาช่วยเป็นกรรมการทำงานการฟื้นฟู
ชุมชนที่ประสบภัยสึนามิ ระยะเวลาผ่านไป 5 ปี ได้มีการจัดตั้งเป็นมูลนิธิอันดามันขึ้นมา

มูลนิธิอันดามันได้เกิดจากการรวมตัวกันของ 6 องค์กรหลักในการพัฒนา

1.คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชภาคใต้ (กป. อพช.ภาคใต้)
2.สถาบันพัฒนาสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย
3.มูลนิธิการพัฒนาที่ยั่งยืน
4.สถาบันพัฒนาองค์กร ชุมชน (พอช.) สำนักงานปฏิบัติการภาคใต้
5.โครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคได้: ดับบ้านดับเมือง เรียนรู้อยู่ตีที่ ปากได้
6.โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการชีวิตสาธารณะท้องถิ่นน่าอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ และกลุ่มเพื่อนอันดามัน

 

ได้รวมตัวกัน ณ สำนักงานสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง เกิดเป็นเครือข่าย ความร่วมมือฟื้นฟูชุมชน
ชายฝั่งอันดามัน (Save Andaman Network- SAN) เพื่อทำการสำรวจและช่วยเหลือเบื้องต้นและกำหนด
แนวทางประสานสนับสนุนช่วยเหลือระยะยาวโดยมุ่งส่งเสริมสนับสนุน การรวมตัวเพื่อพึ่งพาตนเองของชุมชน
ชาวบ้านในการบรรเทาปัญหาและฟื้นฟูอาชีพ ชีวิต ชุมชน ตลอดจนธรรมชาติอย่างบูรณาการและยั่งยืน โดย
ชุมชนชาวบ้านเป็นหลักในการพัฒนา ต่อมามีภาคีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูชุมชนและ
ทรัพยากรธรรมชาติจาก กว่า 40 องค์กรทั่วประเทศเข้าร่วมโดยมีคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนา
ภาคเอกชนมูลนิธิ เด็ก มูลนิธิ ซีเมนต์ไทย และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นหน่วยสนับสนุนประสาน
ส่วนกลางและได้ ปรับองค์กรใหม่เมื่อครบ 6 เดือน เมื่อวันนี้ 15 มิถุนายน 2548 ประกอบด้วยภาคีหลัก คือ
มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธิ
เด็ก เครือข่ายสลัม 4 ภาค กลุ่มเพื่อนอันดามัน โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการชีวิตสาธารณะ ท้องถิ่นน่าอยู่ใน
พื้นที่ภาคใต้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) สำนักงานปฏิบัติการภาคใต้ คณะกรรมการประสานงาน
องค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้ (กป.อพช. ภาคใต้) มูลนิธิสานแสงอรุณ มูลนิธิ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนสมาพันธ์
ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ โครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้ดับ บ้านดับเมือง เรียนรู้อยู่ดีที่ปากใต้ ภายใน
หนึ่งปีมีการประชุม 1 ครั้ง ซึ่งกรรมการเป็นผู้อนุมัติเรื่องต่าง ๆที่จะดำเนินงานในปีถัดไป ทั้งงบดุล การเงิน
แผนงาน รองลงมามีกรรมการเลขานุการ เป็นตัวแทนของเจ้าหน้าที่ ที่เปรียบเสมือนกรรมการหรือผู้จัดการ
คอยมาควบคุมการทำงานอีกครั้ง ซึ่งกรรมการเลขาธิการ คือ นางสาวมณีวรรณ สันหลี และมีคณะทำงานอยู่
หลากหลายพื้นที่ทั้ง กระบี่  สตูล และตรัง


ในระยะแรกปีพ.ศ. 2548 – 2549 เป็นการฟื้นฟูชุมชนผู้ประสบภัยจากสึนามิ โดย มุ่งเน้นการ
สนับสนุนพลังชุมชนในการซ่อมแซมความเสียหายด้านวัตถุที่เกิดจากสึนามิและ สร้างพลังร่วมของผู้สูญเสียเพื่อ
ดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต โดยดำเนินงานภายในพื้นที่ 6 จังหวัด 121 ชุมชน


ในระยะที่สองช่วงกลางปีพ.ศ.2549 – กลางปีพ.ศ.2552 เครือข่ายความร่วมมือฟืนฟูชุมชนชายฝั่ง
อันดามัน (Save Andaman Network- SAN) มุ่งเน้นการยกระดับกระบวนการ ชุมชนที่เกิดขึ้นจากการฟื้นฟู
ชุมชนในช่วงแรกในสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนประกอบด้วย การบริหาร จัดการทรัพยากรทางประมงและชายฝั่ง การ
พัฒนากลุ่มอาชีพกองทุนชุมชน และเศรษฐกิจ ชุมชน การเสริมสร้างโอกาสและความเท่าเทียมทางสังคมของ
กลุ่มผู้ด้อยโอกาส เช่น เด็ก สตรี ชนเผ่าทะเล อุรักลาโว้ย มอแกน รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหญิงและ
ชายในการทำงานด้านการพัฒนา

ความร่วมมือจาก หลากหลายภาคส่วน

มูลนิธิอันดามันไม่เพียงแต่ปฏิบัติงานภายใต้ขอบเขตการทำงานในเฉพาะส่วนเท่านั้น เราได้มีการประสานงานความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วนเข้าด้วยกันเพื่อแก้ปัญหาในทุกมิติ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน ผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในพื้นที่ ชาวประมง ชาวบ้าน ไปจนถึง กลุ่มซาเล้งในชุมชนนั้นๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีบทบาทในการแก้ปัญหา และมีการตกลงร่วมมือกันอย่างจริงจัง และเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ

การปฏิบัติงานร่วมกับชุมชนและหลากหลายภาคส่วนในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เกิดความร่วมมือกัน เพื่อที่ทุกๆพื้นที่ในชุมชน จะสามารถปกป้องผืนป่าและทะเล รวมถึงเห็นความสำคัญของทรัพยากร  ไปจนกระทั้งการปฏิบัติที่ดี และ มีจิตสำนึก ต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ

ความหมายของ LOGO

เครื่องหมายของมูลนิธิประกอบขึ้นจาก รูปเรือในแบบท้องถิ่นอันดามัน เรียกว่า เรือหัวโทงกำลังวิ่งไปข้างหน้าอยู่ในทะเล หมายถึงการมุ่งไปข้างหน้า และวิถีวัฒนธรรมของคนทะเลอันดามัน อักษรภาษาอังกฤษ 3ตัว 

  • S ย่อมาจาก Save หมายถึง ดูแลรักษา ปกป้อง ฟื้นฟู 
  • A ย่อมาจาก Andaman หมายถึง ทะเลอันดามันในที่นี้หมายถึง พื้นที่ชายฝั่งอันดามันในภาคใต้ของประเทศไทย 
  • N ย่อมาจาก Network หมายถึงเครือข่าย หรือกลุ่มคนที่ประกอบกันขึ้นเพื่อทำงานพัฒนาในพื้นที่ชายฝั่งอันดามัน 
  • สีฟ้า สื่อความหมายถึง ท้องทะเล ความจริง การอุทิศตน ความสงบ 
  • สีส้มสื่อความหมายถึง ความเคลื่อนไหว พลัง ความเข้มแข็ง และการให้เป็นสีแห่ง
    พระอาทิตย์อันเปี่ยมพลัง

ตราสัญลักษณ์มูลนิธิอันดามัน

พันธมิตร