บันทึกความร่วมมือ (MOU) การขับเคลื่อนปากเมง - หาดยาว - เกาะกระดาน สู่การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม “ชายหาดสีเขียว การท่องเที่ยว ยั่งยืน”

บันทึกความร่วมมือ (MOU) การขับเคลื่อนปากเมง - หาดยาว - เกาะกระดาน สู่การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม “ชายหาดสีเขียว การท่องเที่ยว ยั่งยืน”

ภาคการท่องเที่ยว ร้านอาหาร ภาคประชาสังคม และส่วนราชการ ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้อง
ถิ่น อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม สํานักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ ๗ กรมส่งเสริมเสริมคุณภาพสิ่ง
แวดล้อมและจังหวัดตรัง ตระหนักในคุณค่าและความสําคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบริเวณ
หาดปากเมง หาดยาว เกาะกระดาน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญของจังหวัดตรัง จึงร่วมกันลงนามบันทึก
ความร่วมมือนี้เพื่อแสดงความมุ่งมั่นและความรับผิดชอบร่วมกันที่จะขับเคลื่อนหาดปากเมง หาดยาว เกาะ
กระดาน สู่การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ดังนี้



ข้อ 1. ให้ความสําคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม (BCG Model) ที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติ
ไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ( Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และ
เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจที่ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษา
สิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลและยังยืน ่ เกิดการกระจายรายได้ลงสู่ชุมชน ลดความเหลื่อมลํ้า ชุมชนเข้มแข็ง มี
ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยังยืน ่
ข้อ ๒ การท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ส่งเสริม สนับสนุน การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

1) ตระหนักในผลกระทบด้านสุขภาพจากโฟมและพลาสติกต่อนักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการจะไม่ใช้โฟม
บรรจุอาหารที่ใช้ครงเดียว ั้ ทิ้ง ลดการใช้ถุงหรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครงเดียว ั้ ทิ้งให้เหลือเฉพาะที่จําเป็น
เปลี่ยนขวดนํ้าดื่มพลาสติกที่ให้บริการในร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ท เป็นขวดแก้วที่สามารถนําไปใช้ซํ้า 
ผู้ประกอบการท่องเที่ยวทางทะเลจะให้บริการโดยใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนํามาใช้ซํ้าหรือที่ย่อยสลายได้ตาม
ธรรมชาติ
2) ให้บริการที่เป็นมิตรและมีความรับผิดชอบต่อนักท่องเที่ยว ในมาตรฐานราคาที่
เป็นธรรม จัดให้มีระบบการรักษาความปลอดภัย การกู้ภัย และการกู้ชีพ
3) จัดทําเส้นทางเดินเรือ และจํากัดความเร็วของเรือที่เข้า-ออก โดยการวางทุ่นชะลอความเร็วเรือ เมื่อ
เข้าแหล่งอนุรักษ์ เพื่อคุ้มครอง อนุรักษ์ พะยูน และแหล่งหญ้าทะเล
4) จัดระบบคัดแยกขยะ เพื่อนําขยะย่อยสลายได้ไปใช้ประโยชน์ นําขยะพลาสติกที่ยังจําเป็นต้องใช้เข้าสู่
ระบบรีไซเคิล และจัดระบบการทิ้งขยะ การจัดการขยะบริเวณสถานประกอบการ ชายหาด ให้มีความสะอาดและ
อยู่ในสถานที่ทิ้งขยะที่จัดไว้
5) ร่วมกันสื่อสารต่อนักท่องเที่ยวและสังคมด้วยสื่อของผู้ประกอบการและหน่วยงาน เพื่อ
สร้างการรับรู้ถึงการท่องเที่ยวที่คํานึงถึงสิ่งแวดล้อม ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ หญ้าทะเล ปะการัง
ป่าชายเลน พะยูน เต่าทะเล และโลมา

ข้อ ๓ การลดภัยคุกคามจากไมโครพลาสติกและขยะพลาสติกที่รวไหลลงสู่ทะเล ั่ สร้างความตระหนักถึง
ผลกระทบจากขยะพลาสติกและไมโครพลาสติกต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

ข้อ ๔ การอนุรักษ์ฟื้ นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ ง ให้การสนับสนุน ส่งเสริมทักษะความรู้ ความ
เข้าใจ และแนวทางปฏิบัติในการดําเนินโครงการ เช่น การปลูกและฟื้ นฟูแนวปะการัง
การขยายพันธุ์หญ้าทะเลโดยการเพาะพันธุ์และปลูกหญ้าทะเล จัดทําแนวเขตแหล่งทรัพยากร และสนับสนุนกิจ
กรรมอื่นๆ เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมเก็บขยะใต้ทะเล ขยะชายหาด การ
จัดทํามาตรการการจัดการขยะ ฯลฯ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของบันทึกความร่วมมือ

ข้อ ๕ เชื่อมโยงการพัฒนาทางเศรษฐกิจกับชุมชนท้องถิ่น ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ
การท่องเที่ยวกับชุมชนในการพัฒนาอาหารทะเลคุณภาพ การท่องเที่ยวชุมชน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าที่
คํานึงถึงระบบนิเวศและเป็นไปตามข้อกําหนดของชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิต การเชื่อมโยงเครือข่ายและ
การจัดตั้งองค์กรชุมชน การพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนและวิสาหกิจชุมชน เพื่อการอนุรักษ์และการท่อง
เที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

บันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้จัดทําขึ้นในวันพุธที่ 30 เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ ณ ท่าเรือ ปากเมง
อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ตําบลไม้ฝาด อําเภอสิเกา จังหวัดตรัง ผู้ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือนี้จะร่วม
กันสนับสนุน ประสานงาน และดําเนินการให้บรรลุผลตามบันทึกความร่วมมือนี้


บัญชีรายชื่อหน่วยงานร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
(MOU)

 1. ผู้ใหญ่บ้านหาดยาว
2. กํานันตําบลไม้ฝาด
3. นายกสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวหาดปากเมง
4. นายกองค์การบริหารส่วนตําบลเกาะลิบง
5. นายกองค์การบริหารส่วนตําบลไม้ฝาด
6. นายอําเภอสิเกา
7. นายอําเภอกันตัง
8. นายกสมาคมการท่องเที่ยวและโรงแรมจังหวัดตรัง
9. ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง
10. มูลนิธิอันดามัน
11. ผู้อํานวยการสํานักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ งที่ ๗
12. ผู้อํานวยการสํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตรัง (เลขานุการตรังยั่งยืน)
13. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
14. หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม
15.ผู้ประกอบการร้านอาหาร โรงแรม รีสอร์ท ผู้ประกอบการท่องเที่ยวทางทะเล
สักขีพยาน อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง

Facebook
Pinterest
Reddit
Threads

สถานที่จัดงาน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ร่วมสนับสนุนกิจกรรม