กลุ่มฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บ้านเกาะมุก จังหวัดตรัง กับรางวัล เครือข่ายชุมชนชายฝั่งดีเด่น ของชุมชนต้นแบบในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ปี 2566
ทำไมเกาะมุกถึงได้รางวัลนี้?
ขอเกริ่นนำก่อนว่าเดิมทีชาวบ้านบนเกาะมุกมีอาชีพประมงและมีการทำการท่องเที่ยวบนเกาะมาอย่างช้านาน
บนเกาะมุกนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรเป็นอย่างมาก
“ภาพฝูงพะยูนที่ถูกสำรวจพบบริเวณหน้าเกาะมุกด์ มีจำนวนไม่น้อยกว่า 36 ตัว”
(*รูปภาพจาก คุณ สันติ นิลวัตน์ #ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง )
ซึ่งในภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรจำนวนมากทั้งมาจากการท่องเที่ยว
และจากขยะทะเลที่เข้ามาในหน้ามรสุม ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นบนเกาะ
“บรรยากาศชายฝั่งเกาะมุก”
ชาวบ้านจึงได้รวมตัวกันเพื่อช่วยเหลือและดูแลทรัพยากรไม่ให้เกิดการเสื่อมถอยขึ้น
โดยการรวมตัวกันของกลุ่มของการท่องเที่ยว วิสาหกิจชุมชน และชาวประมงพื้นบ้านบนเกาะ
“ธนาคารปูม้า พื้นที่รวมตัว และเป็นศูนย์กลางชาวบ้าน สมาคม ชาวประมงพื้นบ้าน วิสาหกิจชุมชน และพื้นที่อนุบาลลูกปูม้า สำหรับปล่อยลงทะเล”
การรวมตัวกันมักจะมีขึ้นทุกๆเดือน เพื่อช่วยกันดูแล “น้องพะยูน” หรือ “ดุหยง” ที่อยู่เคียงคู่กับเกาะมุกมาเป็นเวลานาน
“ภาพการรวมตัวของกลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน และการประสานงานกับภาครัฐ และมูลนิธิอันดามัน เพื่อการทำงานแบบบูรณาการ”
“ภาพการรวมตัวของกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ และเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้าน”
“ภาพจ๊ะจี ผู้พบเห็นและช่วยเหลือพะยูนเกยตื้นคนแรกๆ”
“ภาพการอบรมของชาวบ้าน ในการช่วยเหลือพะยูนเกยตื้น”
“ภาพชาวประมงที่สนใจในการร่วมมืออนุรักษ์สัตว์น้ำหายาก ที่ไม่ใช่สัตว์น้ำเศรษฐกิจ เพื่อการประมงและการรักษาทรัพยากรอย่างยั่งยืน”
“ภาพกิจกรรมการส่งเสริมเยาวชนและผู้คนในพื้นที่ให้ตระหนักถึงการรักษาทรัพยากร”
รวมถึงการช่วยกันดูแล “หญ้าทะเล” ในสภาวะขาดแคลนเช่นนี้ ให้ไม่ถูกทำลายมากขึ้น