อาสาเก็บขยะทะเล @ เกาะตะเกียง

โครงการรวมพลคนรักษาทะเล 

เก็บขยะทะเลเกาะตะเกียง ลดมลภาวะทางทะเลและภัยสุขภาพจากไมโครพลาสติก

หลักการและเหตุผล


ประเทศไทยเป็นประเทศอันดับ ๑๐ ของโลกที่มีขยะรั่วไหลลงทะเล ปริมาณ ๒.๓ หมื่นล้านตัน ร้อยละ ๘๐ ของขยะทะเลมาจากขยะบก ร้อยละ ๒๐ เกิดจากกิจกรรมในทะเล  ร้อยละ ๙๐ ของขยะที่รั่วไหลลงทะเลเป็นโฟมและพลาสติกในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะแตกสลายเป็นไมโครพลาสติกหรือพลาสติกขนาดเล็กปนเปื้อนเข้าสู่ระบบนิเวศและห่วงโซ่อาหารทะเล ซึ่งย้อนกลับมาสู่คนด้วยการบริโภคอาหารทะเลที่เจือปนพลาสติกเหล่านี้ รายงานวิจัยจำนวนมากที่พบไมโครพลาสติกใน ปลา หอย และกุ้ง 


โรคพลาสติโคซิส (Plastcosis) กำลังเป็นโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากเศษพลาสติกเข้าไปสะสมในทางเดินอาหารทำให้เกิดอาการอักเสบเรื้อรั้ง เป็นแผลในเนื้อเยื่อ การดูดซึมสารอาหารและวิตามินในกะเพาะเป็นไปได้ยากขึ้น โรคนี้เริ่มเกิดขึ้นในนกทะเลและส่งผลกระทบต่อตัวอ่อนและลูกนก ในอนาคตจะก่อผลกระทบต่อมนุษย์เมื่อการสะสมของไมโครพลาสติกในคนมีปริมาณมาก   


ปัญหาขยะพลาสติกในทะเลเป็นปัญหาข้ามพรมแดน และถูกกำหนดไว้ให้เป็นมลภาวะทางทะเลที่ทุกประเทศต้องร่วมกันดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่ ๑๔ ว่าด้วย ระบบนิเวศทะเลและมหาสมุทรที่ยั่งยืน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศไทยจะต้องร่วมกันดำเนินการลดและแก้ไขปัญหาขยะทะเล ทั้งการดำเนินการในระดับการตรากฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์พลาสติก การกำหนดนโยบายทางภาษีและการคลัง การสร้างความตระหนัก ความร่วมมือกับส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการเก็บขยะที่ปนเปื้อนอยู่ในทะเล 


เกาะตะเกียง ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง เป็นเกาะนอกสุดของทะเลตรัง ไม่มีชุมชนอยู่อาศัยและไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล เป็นที่ตั้งของกระโจมไฟนำทางเรื่อในยุคสมัยที่เมืองตรังเป็นเมืองท่าทางทะเล 


กาะตะเกียงมีขยะพลาสติก โฟม และอื่นๆที่ถูกพัดพามากับคลื่นลมทะเลสะสมอยู่จำนวนมาก จึงควรจะได้ระดมสรรพกำลังภาคประชาชน ชุมชน ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคธุรกิจร่วมกันเก็บขยะกลับคืนฝั่ง จัดการแยกเพื่อเข้าสู่ระบบรีไซเคิล ส่วนที่เหลือนำไปกำจัดตามหลักสุขาภิบาล

วัตถุประสงค์

๑.เพื่อรวมพลัง สร้างความตระหนัก ถึงภัยคุกคามจากไมโครพลาสติก

๒.เพื่อเก็บขยะจากทะเลคืนฝั่ง นำไปจัดการอย่างถูกต้อง

วันเวลาสถานที่

วันเสาร์ที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๗ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๔ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.

การดำเนินการ 

๑. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกำหนดแผนและกิจกรรม

๒. เปิดรับอาสาสมัครเก็บขยะทะเล

โดยร่วม สมทบค่าน้ำมันเรือคนละ ๓๐๐ บาท รับจำนวนจำกัด ๕๐ คน

๓. จัดกิจกรรมเก็บขยะเกาะตะเกียง แยกขยะ และนำไปจัดการอย่างถูกวิธี

๔. กิจกรรมทั้งหมดปลอดโฟมและพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ขอความร่วมมือผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ไม่นำพลาสติก ขวดน้ำ หรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งเช่น ถุงขนมขบเคี้ยว ไปร่วมกิจกรรม

ผู้เข้าร่วม ๑๕๐ คน

๑.อาสาสมัครที่สมัครเช้าร่วมโครงการจำนวน ๕๐ คน ผู้เข้าร่วมควรนำกระบอกน้ำดื่มติดตัวมาด้วย ถุงมือแบบใช้ซ้ำ

๒.ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ร่วมดำเนินงาน ๓๐ คน 

๓.ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ๒๐ คน

๔.องค์กรร่วมจัด ๓๐ คน

๕. คณะทำงานเรือ เสบียง สวัสดิการ ๒๐ คน 

องค์กรร่วมจัด 

๑.จังหวัดตรัง โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนตรังสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม

๒.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตรัง

๓.สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ ๗ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 

๔.กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม 

๕.องค์การบริหารส่วนตำบลตะเสะ 

๖.องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสุกร 

๗.สมาคมชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง

๘.บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน)

๙.บริษัท เบทเตอร์เวย์ (ประเทศไทย)จำกัด (Mistine)

๑๐.สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

๑๑.สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง

๑๒.สมาคมการท่องเที่ยวและโรงแรมจังหวัดตรัง

๑๓.สมาคมพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดตรัง 

๑๔. ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลจังหวัดตรัง 

๑๕.องค์กรชุมชนชายฝั่งตะเสะ หาดสำราญ และเกาะสุกร 

๑๖. มูลนิธิอันดามัน

๑๗. สภาองค์กรชุมชนตำบลตะเสะ 

๑๘. อุทยานแห่งชาติหมูเกาะเภทตรา

๑๙. บริษัท SCG (ทุ่งสง)

๒๐. บริษัท เลตรังไดร์ฟวิ่ง จำกัด

กำหนดการ วันเสาร์ที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๗ แรม ๖ ค่ำเดือน ๔

๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น.  ลงทะเบียน เตรียมความพร้อม ชี้แจงกิจกรรม 

ณ หาดหัวแหลมบ้านตะเสะ ตำบลตะเสะ อำเภอหาดสำราญ จังหวัดตรัง 

๐๙.๐๐ – ๑๐.๓๐ น. ออกเดินทางไปเกาะตะเกียง 

๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. แบ่งกลุ่มเก็บขยะทะเล ๖ อ่าว

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.   รับประทานอาหารเที่ยง 

๑๓.๐๐ น.   ผู้ว่าราชการเดินทางถึงเกาะตะเกียงร่วมเก็บขยะทะเล

๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น.  เก็บขยะทะเลร่วมกับผู้ว่า ร่วมคัดแยกขยะ

            เยี่ยมชมประภาคาร หรือ ดำน้ำผิวปะการังหน้าเกาะตะเกียง ตามอัธยาศัย

๑๔.๓๐ – ๑๕.๐๐ น.  กล่าวสรุปกิจกรรมและมอบเกียรติบัตรแก่องค์กรร่วมจัด

โดยผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง

และ มอบเกียรติบัตรแก่อาสาสมัครรักษาทะเล

โดยผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

และผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 7

๑๕.๐๐ –๑๖.๓๐ น. เดินทางกลับ หาดหัวแหลมบ้านตะเสะ หรือ 

เดินทางไปเกาะหลาวเหลียง ตามอัธยาศัย (แบ่งเรือ)

๑๖.๓๐ –๑๗.๐๐ น.     ถึงชายฝั่ง ณ หาดหัวแหลมบ้านตะเสะ พักรับประทานอาหารว่าง

และ แยกขยะส่งเข้าระบบรีไซเคิล และนำบางส่วนไปกำจัด

ที่บ่อขยะเทศบาล เมืองกันตัง 

๑๗.๐๐ น. ปิดกิจกรรม เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

หมายเหตุ *

-มีผ้าพันคอมัดย้อมแจกฟรี (สำหรับแทนผ้าเช็ดเหงื่อ)

-โปรดนำอุปกรณ์ส่วนตัวไปด้วย เช่น  อุปกรณ์กันร้อน (หมวก)  กระบอก / ขวดใส่น้ำส่วนตัว (งดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง)

-ถุงมือส่วนตัว

การเดินทาง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเดินทางโดยรถส่วนตัวถึงศาลาหัวแหลมตะเสะ (หากไม่มีรถส่วนตัวกรุณาแจ้งทางไลน์มูลนิธิ เพื่อไปกับองค์กรร่วมจัด)

ผู้มีความประสงค์ดำน้ำตื้น

กรุณาแจ้งทางไลน์มูลนิธิเพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับท่าน ที่ไลน์ id : @330ngjsk หรือ QR Code ด้านล่าง (มีค่าเช่าอุปกรณ์ 50 บาท)

สถานที่จัดงาน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ร่วมสนับสนุนกิจกรรม