โครงการ ‘Tormorrow Light’ by SAN

‘แสงพรุ่ง’ พรุ่งนี้และต่อไปเราจะผลิตไฟใช้เอง

โครงการ “แสงพรุ่ง” เพื่อต่อยอดและพัฒนาศักยภาพท้องถิ่นในการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน โดยผลักดันภาคประชาชน ชาวประมง และ องค์กรบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบล โรงพยาบาล โรงเรียน และภาคเอกชน ให้มีการตระหนักในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ ภาวะโลกร้อน โดยริเริ่มจากการพัฒนาโมเดลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ หลังคาของภาคประชาชน ในการเปลี่ยนแปลงสู่ตัวอย่างของพื้นที่แห่งความยั่งยืน เพื่อการพึ่งพาตนเองได้อย่างมีศักยภาพ สามารถเป็นตัวอย่างของพื้นที่ ที่มีการรับมือของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เริ่มปรับใช้พลังงานหมุนเวียนและลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากฟอสซิล เพื่อความเป็นธรรมและยั่งยืน

ทั้งนี้ โครงการ “Tomorrow Light” จะเร่งส่งเสริมโครงการที่ต่อยอดจากโครงการนี้ โดยมุ่งเรื่องพลังงานสะอาดกับการลดปัญหา Climate Change เพราะทุกคนรู้แล้วว่า Climate Change กระทบต่อทุกภาคส่วน เช่น การเกษตร การท่องเที่ยว ภัยพิบัติ โรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยและทั่วโลก การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนที่มากที่สุดมากจากภาคพลังงาน เพราะฉะนั้นเราต้องเริ่มจากการพึ่งพิงการใช้ไฟฟ้าให้น้อยลง และการใช้พลังงานจากแหล่งธรรมชาติหรือพลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น และรณรงค์ไปสู่ความรู้ ความเข้าใจของภาคประชาชนชนให้ตระหนักถึงภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งในปัจจุบันเราจะเห็นว่าตอนนี้ประชาชนมีความตื่นตัวเรื่องพลังงานสะอาดมากขึ้น จากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงของโลกในด้านต่างๆ ทั้งการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์ทางทะเล การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่สูงขึ้น  ตลอดจนด้านอุทกภัยและการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล

“พลังงานสะอาดตอนนี้ไม่ใช่เป็นแค่ทางเลือก แต่เป็นทางรอดในระดับประเทศ ระดับโลก ทุกคนสามารถที่จะร่วมเรียนรู้ ร่วมผลักดันให้พลังงานสะอาดเกิดมากขึ้นเพื่อให้โลกที่จะรอดพ้นจากปัญหา Climate Change”

ซึ่งในปัจจุบันทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีการประกาศความเป็นกลางทางคาร์บอน เรื่องของ Net Zero การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ แสดงให้เห็นว่าคนเริ่มเข้าใจถึงความจำเป็นของพลังงานสะอาดมากขึ้น

แต่สิ่งสำคัญคือการผลักดันให้คนในท้องถิ่นได้เข้าถึงระบบการใช้พลังงานสะอาดได้อย่างแท้จริง

และสามารถเป็นตัวอย่างการใช้พลังงานหมุนเวียนที่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์กับคนในชุมชน

โดยการริเริ่มจาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบล ซึ่งเป็นสถานที่หนึ่งที่อยู่ใกล้ชิดและเป็นประโยชน์กับชุมชนมากที่สุด

เนื่องจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลนั้น คือพื้นที่ส่วนกลางที่ผู้คนในตำบลสามารถไป “ฝากผี ฝากไข้” ได้

เป็นสถานที่ที่ผูกพันกับคนในตำบล ตั้งแต่ “เกิด” ยัน “ตาย” โดยการฝากครรภ์ ฉีดวัคซีน ดูแลเรื่องทันตกรรม สุขภาวะในด้านต่างๆ

การดูแลผู้ป่วยติดยาเสพติด ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้เฒ่า ผู้แก่ในชุมชน ในการรักษาพยาบาลขั้นต้นก่อนส่งต่อโรงพยาบาลขนาดใหญ่

เป็นศูนย์สุขภาพให้คนในชุมชน ให้สามารถรับบริการได้ทุกระดับและทุกชนชั้น มีความสะดวกต่อการเดินทาง และเป็นที่นัดหมายรวมตัวกันของกลุ่มคนในชุมชน

เช่น การทำงานร่วมกับคณะ อสม ที่เป็นอาสาสมัครจากคนในชุมชนได้ช่วยกันดูแลกันเองอย่างยั่งยืน

ยกระดับคุณภาพการให้บริการคนไข้จากเงินค่าไฟที่ลดได้จากโซลาร์

ซึ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลตัวอย่าง มี 3 โรงพยาบาล ในพื้นที่ 3 จังหวัด ที่จะเข้าร่วมโครงการ Tomorrow Light

ซึ่งทั้งสาม รพสต จะร่วมรับบริจาคสมทบทุนจากภาคประชาชนทั่วประเทศ และ ผ่านอาสาสมัครหมู่บ้าน เพื่อมาติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป)

พร้อมทั้งเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือวิกฤตภาวะโลกร้อน ให้คนในชุมชนได้ตระหนักและมีการเตรียมพร้อมกับการรับมือในเรื่องนี้

โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลที่เข้าร่วมนำร่องในการเป็นผู้นำ รพสต.ที่ยั่งยืน ได้แก่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบล คลองยาง อ.เกาะลันตา จ.กระบี่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบล สาคร อ.ท่าแพ จ.กระบี่

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบล นาโยงใต้ อ.เมือง จ.ตรัง

 

โดย “ภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์” ผู้จัดการโครงการ Tomorrow Light  กล่าวว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลที่ได้เข้าร่วมโครงการ Tomorrow Light เพื่อติดตั้งโซลาร์เซลล์มาผลิตไฟฟ้าใช้เองในโรงพยาบาลในช่วงเวลากลางวัน จะสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลได้ 1500-2500/ เดือน ในระยะยาว สามารถประหยัดไฟฟ้าของโรงพยาบาลได้ประมาณ 20%  หลังจากนั้นโรงพยาบาลก็ได้ต่อยอดการพัฒนาบริการสาธารสุข การเพิ่มบุคลากรภายในสำนักงาน,อาสามัคร,เจ้าหน้าที่พยาบาลสำหรับผู้ป่วยติดเตียงและเยี่ยมเยือนคนชราในชุมชน หรือการซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นในการรักษาพยาบาลได้เพิ่มเติม

“พลังงานหมุนเวียนเป็นเรื่องที่มีประโยชน์มาก เพราะช่วยให้โรงพยาบาลเกิดการประหยัด และช่วยลดต้นทุนค่าไฟฟ้าได้ทุกเดือน แต่ปัจจุบันโรงพยาบาลส่วนตำบลขาดงบประมาณสนับสนุนในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ เนื่องจากการอยู่ระหว่างการถ่ายโอนระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และ อบจ รวมถึงยังขาดงบประมาณย่อยในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ซึ่งหาก ทุก รพสต ในประเทศไทยให้สามารถติดโซลาร์เซลล์ได้ทุกแห่งและครอบคลุมค่าไฟทั้งหมดได้ รพสต จะสามารถเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการและดูแลคนในชุมชนที่ปัจจุบันเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และสามารถนำเงินส่วนนั้นมาใช้ในการดูแลบริหารจัดการโรงพยาบาลและดูแลแทน” นายภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ ผู้จัดการโครงการ Tomorrow Light  กล่าว

 

 

นายภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ทิ้งท้ายว่า “โครงการนี้จะทำให้โรงพยาบาลทั้ง 3 แห่งได้ประโยชน์เหมือนกัน คือประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าไฟฟ้าได้มากซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อคนไข้และประชาชนในพื้นที่ต่อไป”

 

ซึ่ง โครงการ “Tomorrow Light” by SAN เป็นโครงการที่ต้องการยกระดับและพัฒนาศักยภาพชุมชน สังคม และหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ให้สามารถมีการจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน

และสามารถตระหนักและตั้งรับต่อวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ในระยะยาว เป็นตัวอย่างให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเป็นประโยชน์ให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

 

Share:

Facebook
Twitter
Pinterest
LinkedIn