สรุปผลดำเนินงาน โครงการลดภัยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากขยะพลาสติกในทะเล

แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อมที่เชื่อมโยงกับสุขภาวะเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

โครงการลดภัยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากขยะพลาสติกในทะเลดำเนินการในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ตรังและสตูล โดยร่วมกับ ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล    แพปลา ร้านค้า ผู้ประกอบการท่องเที่ยว ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลและเกาะ จำนวน 74 หมู่บ้านในพื้นที่ 10  ตำบล เทศบาลตำบล 1 ตำบล อบต.9 อบต. เป็นพื้นที่เกาะจำนวน 5 เกาะได้แก่ เกาะกลาง เกาะลันตาน้อย เกาะลันตาใหญ่ เกาะมุกด์ เกาะลิบง เกาะสุกร พื้นที่ชุมชนชายฝั่งทะเลในตำบลบ่อหิน ตำบลเกาะลิบง ตำบลตะเสะ ตำบลปากน้ำ ตำบลละงู และร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวคิด มาตรการ          ทางเศรษฐศาสตร์และข้อเสนอทางนโยบายว่าด้วยความรับผิดขอบของผู้ก่อมลภาวะและภัยต่อสุขภาพจากโฟมและพลาสติกในทะเลและเพื่อขับเคลื่อนจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ชาวประมงพื้นบ้านและการท่องเที่ยวทางทะเลปลอดโฟม หยุดการทิ้งขยะพลาสติกลงทะเล และการนำเข้าสู่ระบบรีไซเคิล รวมทั้ง             เพื่อรณรงค์ สื่อสาร ภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากพลาสติกในทะเล ตลอดจนความรับผิดชอบของทุกภาคส่วนต่อภาวะคุกคามของไมโครพลาสติกต่อระบบนิเวศและสุขภาพของมนุษย์ กิจกรรมที่ได้ดำเนินการในช่วง 6 เดือน   ที่ผ่านมา ตั้งแต่เดือนตุลาคม – มีนาคม 2565 ได้มีการประชุมหารือกับอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ จำนวน 2 ครั้ง     มีการพัฒนาเอกสารงานศึกษาแนวคิดการใช้โฟมและพลาสติกตามหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับผิดชอบ และผลการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน และได้มีการจัดเวทีประชุมทำความเข้าใจร่วมกับชุมชน อสม. ท้องถิ่นและภาคีความร่วมมือในแต่ละพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัดเพื่อนำเสนอสาระสำคัญและเป้าประสงค์ในการดำเนินโครงการนี้ให้เป็นที่รับรู้ เข้าใจ และถือโอกาสรับฟังความคิดเห็นต่อแนวทางการขับเคลื่อนโครงการ โดยมีการรวบรวมข้อมูลการรับซื้อขยะในราคาอุดหนุนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มูลนิธิอันดามันดำเนินการร่วมกับ Second Life และวงษ์พาณิชย์เหนือคลอง รวมทั้งรวบรวมความเห็นข้อเสนอ ของผู้รวบรวมขยะพลาสติกและขยะทะเลในชุมชน ตลอดจนประสานงานเพื่อขับเคลื่อนจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ชาวประมงพื้นบ้านและการท่องเที่ยวทางทะเลปลอดโฟม หยุดการทิ้งขยะพลาสติกลงทะเล และการนำเข้าสู่ระบบรีไซเคิล โดยได้จัดประชุมในระดับจังหวัด อำเภอ และระดับเครือข่าย 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันเพื่อขับเคลื่อนแก้ปัญหาขยะพลาสติกในทะเล

 

นอกจากนั้นยังได้มีการจัดกระบวนการกำหนดเป้าหมายและแนวทางร่วมกับ อปท.และ รพ.สต.ในจังหวัดตรัง จำนวน 5 ครั้ง มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถอดบทเรียนทบทวนกิจกรรมโครงการจัดการขยะเกาะลิบงจ.ตรัง เพื่อถอดบทเรียนทบทวนกิจกรรมโครงการจัดการขยะในพื้นที่เกาะลิบง จังหวัดตรัง ที่มูลนิธิอันดามันได้ดำเนินงานร่วมกับองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) เพื่อทบทวนแผนปฏิบัติการจัดการขยะในระดับชุมชน และร่างข้อตกลงชุมชนและตำบลในการขับเคลื่อนเกาะลิบงยั่งยืน ทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนตรังยั่งยืน ทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม จำนวน 1 ครั้ง ในช่วงก่อนเริ่มต้นโครงการ รวมทั้งจัดกิจกรรมรณรงค์เก็บขยะทะเลในพื้นที่บ้านเกาะมุกด์ จำนวน 1 ครั้ง  สำหรับจังหวัดกระบี่ได้จัดประชุมวางแผนออกแบบการจัดเวทีระดับอำเภอ เพื่อจัดทำแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่เกาะลันตาอย่างยั่งยืน “ปฏิญญาเกาะลันตา” จำนวน 2 ครั้ง จัดกิจกรรมให้ควารู้แก่เยาวชนถึงภัยจากขยะพลาสติกและขยะทะเลที่ส่งผลต่อระบบนิเวศและสัตว์ทะเลหายาก และอบรมให้ความรู้เรื่องการทำสื่อเพื่อการสื่อสารงานชุมชน             มีการศึกษารวบรวมปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาขยะโฟมและพลาสติก โดยจัดเวทีร่วมกับท้องถิ่น กลุ่มอสม.และ รพ.สต.  และร่วมกันออกแบบกระบวนการจัดเก็บข้อมูลขยะ(ครัวเรือน) ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ สตูล นอกจากนั้นได้จัดกิจกรรมรณรงค์เก็บขยะทะเล จำนวน 1 ครั้ง ในพื้นที่บ้านเกาะมุกด์ จังหวัดตรัง พร้อมจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ในรูปแบบคลิปวิดีโอประชาสัมพันธ์กิจกรรมรณรงค์เก็บขยะทะเลบ้านเกาะมุกด์ “เกาะมุกด์รวมใจ ลดภัยขยะทะเล และคลิปวิดีโอและโพสต์ข้อความสรุปการกิจกรรมเวทีประชุมพัฒนาแผนส่งเสริมชุมชนชายฝั่งสู่การจัดการเศรษฐกิจสีเขียว ร่วมกับสมาคมเครือข่ายคนรักเลกระบี่ วันที่ 25 – 26 ธันวาคม 2565 ประชาสัมพันธ์ผ่านเพจมูลนิธิอันดามัน

ในระยะเวลา 6 เดือน ที่ผ่านมาเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการดำเนินงานดังนี้

  1. เกิดการขับเคลื่อนกิจกรรมภายใต้โครงการลดภัยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากขยะพลาสติกในทะเล โดยมีการประชุมหารือกับอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ จำนวน 2 ครั้ง ได้มีการศึกษาจัดทำข้อเสนอแนวคิดนำหลักการความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต และผู้บริโภคมาใช้ในการจัดการบรรจุภัณฑ์พลาสติเพื่อพัฒนาเอกสารงานศึกษาแนวคิด การใช้โฟมและพลาสติกตามหลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้รับผิดชอบ และผลการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน แลสรุปผลการปรึกษาหารือดังนี้

1.1 ดำเนินมาตรการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 ”ทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม” โดยอธิบดีคพ.จะนำเรื่องเสนอคณะกรรมการควบคุมมลพิษพิจารณาและนำเสนอต่อเนื่องไปยังคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและครม.เพื่อย้ำให้มีการดำเนินการตามมติครม.และให้จัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติในทุกจังหวัด โดยมี ทสจ.เป็นหน่วยเลขานุการ

1.2 การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการตามมาตรการที่ 4 การจัดการขยะพลาสติกในทะเล จะมีความร่วมมือกันดำเนินงานในพื้นที่เกาะ

1.3 ความร่วมมือเป็นองค์กรปลอดโฟมลดพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งระหว่าง กรมควบคุมมลพิษ,สสส.,สปสช.และหน่วยงานอื่นๆ โดยจะมีการทำMOU ร่วมกัน

  1. มีการขับเคลื่อนจังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ชาวประมงพื้นบ้านและการท่องเที่ยวทางทะเลปลอดโฟม หยุดการทิ้งขยะพลาสติกลงทะเล และการนำเข้าสู่ระบบรีไซเคิล โดยทั้ง ๓ พื้นที่ ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน ในระดับต่างๆ ดังนี้

 ระดับจังหวัดและอำเภอ

จังหวัดสตูล  ผลักดันนโยบายจังหวัด และแนวปฏิบัติ ของจังหวัดสตูล รวมทั้งรายงานการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ จังหวัด อำเภอปลอดโฟม ลด เลิก เปลี่ยนการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง

1.จัดทำข้อมูลสถานการณ์ปัญหาขยะในจังหวัดสตูล รวบรวมข้อเสนอของภาคส่วนต่างๆในการจัดการขยะโฟมและพลาสติก ประมวลเป็นร่างนโยบายจังหวัด

2.ประสานงานกับผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ทสจ.และผู้เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำนโยบายจังหวัด และกลไกการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ เช่น กรรมการทะเลฯ

จังหวัดกระบี่ มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกับทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนนโยบายและแนวปฏิบัติ อำเภอเกาะลันตา รวมทั้งรายงานการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ  อำเภอปลอดโฟม ลด เลิก เปลี่ยนการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง  เกิดร่างปฏิญญาอ่าวลันตาการขับเคลื่อนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน Blue & Green Island

จังหวัดตรัง  มีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนตรัง ยั่งยืน ทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม นโยบายจังหวัด และแนวปฏิบัติ ของจังหวัดตรังรวมทั้งรายงานการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติ จังหวัด อำเภอปลอดโฟม ลด เลิก เปลี่ยนการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง

ระดับท้องถิ่น ตำบล และเครือข่ายฯ

เกิดความร่วมมือกับท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณะสุขหมู่บ้าน (อสม.) ใน ๓ จังหวัด ร่วมวางแผนการสำรวจข้อมูลการคัดแยกขยะครัวเรือน เพื่อนำผลการสำรวจมาใช้ในการวางแผนจัดการขยะในระดับชุมชนของแต่ละตำบล

มีการพัฒนาข้อตกลงชุมชนและข้อตกลงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อสม.ขับเคลื่อนตำบลปลอดโฟมบรรจุอาหารลดขยะพลาสติกจัดระบบแยกขยะในระดับครัวเรือน และปรึกษาหารือสร้างเป้าหมายและแนวทางร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลล

เกิดความร่วมมือกับผู้ประกอบการท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติฯ ในการสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวทางทะเล การท่องเที่ยวชุมชน จัดทำแนวทางและมาตรการท่องเที่ยวปลอดขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง